Background



นโยบาย/ยุทธศาสตร์
นโยบาย/ยุทธศาสตร์
19 ตุลาคม 2561

0


การพัฒนาตามนโยบายของเทศบาล 
         
                 โดยนายกเทศมนตรีเวียงสระได้แถลงต่อสภาเทศบาลตำบลเวียงสระเมื่อวันที่  10  พฤศจิกายน 2548  (ในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง)  สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้    
        
                 1. นโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
                          
                      - มีโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะการคมนาคมที่ทันสมัยประกอบด้วยสถานีรถไฟใหม่เพื่อรองรับผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น
                      - มีโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนอย่างเพียงพอ
                      - จัดให้มีไฟฟ้าสาธารณะ แสงสว่าง ตามถนน ตรอกซอย สวนสาธารณะ หมู่บ้านฯลฯ อย่างทั่วถึง
                      - ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดให้มีบริการด้านการประปา ด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม
                      - จัดระบบการจราจรในเขตเมือง ให้มีความสะดวก ความปลอดภัย มีประสิทธิภาพและเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
       
                 2. นโยบายด้านสังคม
                   
                      - รณรงค์ป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม โดยเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกองค์กร
                      - เร่งดำเนินการรักษาความสะอาดในเขตเทศบาลโดยการกวาด เก็บขนขยะมูลฝอย บริเวณถนนทางเท้าหรือที่สาธารณะในเขตพื้นที่รับผิดชอบให้สะอาด
                      - รณรงค์กำจัดขยะอย่างเป็นระบบ เช่น มีการแยกขยะแห้ง ขยะเปียก เศษแก้ว โลหะ กระดาษนำส่วนที่ใช้ขายได้มาก่อให้เกิดประโยชน์
                      - ส่งเสริมการจัดตั้งชุมชน เสริมสร้างความเข้มแข็ง ให้แก่ชุมชนอย่างต่อเนื่องสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างชุมชนองค์กรเอกชนประชาชนในท้องถิ่น
                      - ส่งเสริมการบริการด้านสาธารณสุข การรักษาพยาบาล การจัดสวัสดิการแก่เด็ก ผู้สูงอายุผู้ยากจนและผู้ด้อยโอกาสอย่างเพียงพอและเป็นธรรม
                      - กำหนดให้เป็นเมืองแห่งความรู้ด้านศิลปวิทยาการ และวัฒนธรรมประเพณี สนับสนุนศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น และภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นรากฐานแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน
                      - ให้การสงเคราะห์ และจัดสวัสดิการแก่เด็ก ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ คนชรา ผู้สูงอายุ
                      - ส่งเสริมการศึกษาแก่เด็ก เยาวชน ประชาชน ทั้งในและนอกระบบโรงเรียน และดำเนินการด้านการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายการศึกษาแห่งชาติ
      
                 3. นโยบายด้านเศรษฐกิจ 
                       
                     - ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนใช้วิถีชีวิตในระบบเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลัก
                     - ส่งเสริมสินค้าที่ผลิตจากชุมชน และสินค้าที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น
                     - ส่งเสริมการฝึกอาชีพ และพัฒนาแรงงานเยาวชน ประชาชนมีคุณภาพและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในท้องถิ่น
                     - จัดให้มีตลาดเพื่อรองรับผลผลิตอย่างเพียงพอ ถูกสุขลักษณะ และสะดวกในการซื้อขาย
                     - จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจต่างๆ อย่างเพียงพอและทั่วถึง เพื่อเป็นการอำนวยความ
สะดวกและส่งเสริมการลงทุนในท้องถิ่น
                
                4. นโยบายการเมืองและการบริหาร
                     
                     - ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมือง โดยการร่วมคิดร่วมทำ เพื่อให้การบริหารและการพัฒนาบ้านเมืองมีประสิทธิภาพโปร่งใส
                    - การจัดการบริการในเชิงรุก และจัดการบริการเป็นพิเศษในด้านต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
                    - สร้างระบบการบริหารงานโดยเน้นหลักประสิทธิภาพ ประสิทธิผล สุจริต โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้และสนองต่อความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง
                    - ส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์การจัดทำแผนงานโครงการในการพัฒนาบ้านเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน
                    - พัฒนาบุคลากรในด้านการป้องกันสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพ

     5. นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
                     
                     - รณรงค์ให้เป็นเมืองน่าอยู่ มีสิ่งแวดล้อมที่ดีปราศจากมลพิษ น่าอยู่อย่างยั่งยืน
                     - สามารถป้องกันและปราบปราม การทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ
                     - สนับสนุนการดำเนินการจัดตั้งองค์กร และเครือข่ายให้มีบทบาทในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
                     - ก่อสร้างสวนสาธารณะ สวนสุขภาพ สวนหย่อม เพื่อให้ประชาชนได้มีสถานที่พักผ่อนหย่อน
ใจมากขึ้นเพื่อรองรับความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง
                     - โครงการต่างๆ ที่ดำเนินการในพื้นที่แล้วก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน ให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการและตัดสินใจในโครงการ

ยุุทธศาสตร์การพัฒนา
 

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

แนวทางที่ 1 การจัดการศึกษา และการสนับสนุนส่งเสริมการศึกษา 
แนวทางที่ 2 การส่งเสริมกีฬาและนันทนาการ 
แนวทางที่ 3 การสงเคราะห์ การส่งเสริมสวัสดิการ และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตสตรี เด็ก คนชรา คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ติดเชื้อเอดส์ และผู้ยากจน 
แนวทางที่ 4 การส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันควบคุมโรค 
แนวทางที่ 5 การส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว 
แนวทางที่ 6 การส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพของเด็ก เยาวชน ชุมชน อาสาสมัคร และ องค์กรเอกชน 
แนวทางที่ 7 การส่งเสริมสนับสนุนและการพัฒนาการประกอบอาชีพ 
 

ยุทธศาสตร์ที่ 2  ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว

แนวทางที่ 1 ส่งเสริมการท่องเที่ยว
แนวทางที่ 2 การอนุรักษ์ ฟื้นฟูศิลปะ ศาสนา วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
แนวทางที่ 3 การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว 
แนวทางที่ 4 จัดให้มี และการบำรุงรักษาสถานที่ท่องเที่ยว สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และสวนสาธารณะ
แนวทางที่ 5 การพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อบริการด้านการท่องเที่ยว
แนวทางที่ 6 จัดให้มีศูนย์บริการข้อมูลสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยว
 

ยุทธศาสตร์ 3 ด้านการพัฒนาการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม

แนวทางที่ 1 การปรับโครงสร้างพื้นฐาน ระบบการผลิตทางการเกษตรและปศุสัตว์
แนวทางที่ 2 การพัฒนาคุณภาพและรูปแบบผลิตภัณฑ์
แนวทางที่ 3 การพัฒนาตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
แนวทางที่ 4 การแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน
แนวทางที่ 5 การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์
แนวทางที่ 6 การส่งเสริมการฝึกอบรมการประกอบอาชีพ
แนวทางที่ 7 การส่งเสริมการผลิตสินค้า หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
แนวทางที่ 8 การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการจัดการด้านการตลาด
 

 

 

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี

แนวทางที่ 1 ก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษาเส้นทางคมนาคม แหล่งน้ำ ระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ
แนวทางที่ 2 การจัดทำผังเมือง
แนวทางที่ 3 การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
แนวทางที่ 4 การบริการประชาชน
แนวทางที่ 5 การแก้ปัญหายาเสพติด การทุจริต คอรัปชั่น
แนวทางที่ 6 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวทางที่ 7 การอนุรักษ์ฟื้นฟูและบำบัดทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
แนวทางที่ 8 การส่งเสริมประชาธิปไตยและกระบวนการประชาสังคม
แนวทางที่ 9 การพัฒนาองค์กรและบุคลากร
แนวทางที่ 10 การจัดหาและพัฒนารายได้
แนวทางที่ 11 การพัฒนาท้องถิ่น ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาครัฐ ภาคเอกชนและหน่วยงานอื่น
แนวทางที่ 12 การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
แนวทางที่ 13 สนับสนุน ส่งเสริม และคุ้มครองผู้บริโภค

 

เอกสารแนบ
นโยบายการพัฒนาของผู้บริหารท้องถิ่น
10 กันยายน 2561

0


นโยบายการพัฒนาของผู้บริหารท้องถิ่น ตำบลยางค้อม ประกอบด้วย 6 แผนงาน ดังนี้

1. แผนงานการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

แนวทางการดำเนินงาน 

ส่งเสริมอาชีพให้กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีในตำบลโดยจัดฝึกอบรมและให้เงินอุดหนุนกลุ่ม

วัตถุประสงค์   

เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพที่มั่นคง และมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต

เป้าหมายดำเนินการ

ให้ประชาชนมีรายได้เสริมและลดจำนวนผู้ว่างงาน

2. แผนงานการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

แนวทางการดำเนินงาน

1. ก่อสร้าง และปรับปรุงเส้นทางคมนาคม

2. ก่อสร้าง และปรับปรุงอาคารสำนักงาน

3. ติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะในเขตชุมชน

4. ก่อสร้าง และปรับปรุงระบบประปาหมู่บ้าน

วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาพื้นที่ครอบคลุมกิจกรรมทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพและลักษณะทาง       

กายภาพการปรับปรุงพื้นที่การก่อสร้างสาธารณูปโภคและสาธารณูปการอันเป็นการส่งเสริมความสะดวกในการอยู่อาศัยและการประกอบอาชีพ

เป้าหมายการดำเนินงาน

1. เพื่อให้การคมนาคมใช้ได้สะดวกตลอดปี

2. เพื่อให้การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการใช้การได้ดี

3. แผนงานการพัฒนาด้านการบริหาร 

แนวทางการดำเนินงาน

1. จัดอบรมตามโครงการพัฒนาบุคลากร และผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่ตำบล

2. จัดหาอุปกรณ์ที่ทันสมัย

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้บุคลากรมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

2. เพื่อการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ

เป้าหมายการดำเนินงาน

1. ให้พนักงานส่วนตำบลผู้นำท้องถิ่นทุกระดับให้มีความรู้คุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน

2. มีเครื่องใช้สำนักงานที่เพียงพอ

4. แผนงานการพัฒนาด้านสังคมและสาธารณสุข

แนวทางการดำเนินงาน

1. ส่งเสริมวัฒนธรรม กิจกรรมศาสนาและประเพณี

2. รณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

3. ส่งเสริมการกีฬาให้ประชาชนและเยาวชน

4. สงเคราะห์ช่วยเหลือคนพิการและคนชรา

5. ช่วยเหลือผู้ประสบภัย

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ประชาชนรู้จักอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงาม

2. เพื่อให้ประชาชนห่างไกลยาเสพติด

3. เพื่อช่วยเหลือคนพิการและคนชราให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในระดับหนึ่ง

4. เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้สามารถช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง

เป้าหมายการดำเนินงาน

๑. เพื่อให้องค์กรต่าง ๆ มีความเข้มแข็งในการจัดกิจกรรมร่วมกัน

๒. รณรงค์ประชาสัมพันธ์การป้องกันยาเสพติด

3. สนับสนุนให้ประชาชนและเยาวชนเข้าร่วมแข่งขันกีฬาตำบลและอำเภอ

4. ช่วยเหลือคนพิการและคนชราช่วยเหลือผู้ประสบภัยสาธารณะในพื้นที่ตำบล

5. แผนงานการพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

แนวทางการดำเนินงาน

1. ส่งเสริมและสนับสนุนทุนการศึกษาให้นักเรียนที่เรียนดี มีความประพฤติเรียบร้อย

2. พัฒนาศูนย์เด็กเล็กให้ได้มาตรฐาน

3. ส่งเสริมและสนับสนุนกีฬาระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด

4. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมทางศาสนาและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นและภูมิปัญญาชาวบ้าน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและส่งเสริมการศึกษาแก่นักเรียน

2. เพื่อพัฒนาความรู้และความสามารถในการศึกษาหาความรู้ของนักเรียน

3. เพื่อให้ประชาชนได้ออกกำลังกายและส่งเสริมความสามัคคี

4. เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทย

เป้าหมายการดำเนินงาน

1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนในตำบลยางค้อม

2. ประชาชนทุกหมู่บ้านมีสุขภาพแข็งแรง

3. วัด โรงเรียน ประชาชน ร่วมกันทำกิจกรรม

6.แผนงานพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม

แนวทางการดำเนินงาน

1. ประชาสัมพันธ์ให้ราษฎรมีจิตสำนึก โดยให้ความรู้ ใช้สื่อทุกประเภท

2. เผยแพร่ความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

3. จัดให้มีกลุ่มอนุรักษ์ ศูนย์ดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เป้าหมายการดำเนินงาน

1. ทุกพื้นที่ ที่เหมาะสม

2. ทุกๆ ปี

 

ยุทธศาสตร์การพัฒนา
10 กันยายน 2561

0


องค์การบริหารส่วนตำบลยางค้อมได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา ไว้จำนวน 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจ

องค์การบริหารส่วนตำบลยางค้อม ต้องเร่งบูรณาการสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่  รวมทั้งร่วมบูรณาการการทำงานกับรีสอร์ท ที่พักในพื้นที่ เพื่อพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนของแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าว

2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ของไทย ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์การบริหารส่วนตำบลยางค้อม ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการหลั่งไหลเข้ามาของประชากรประเทศเพื่อนบ้านไม่ว่าจะเข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยว คนทำงาน หรือการอื่นใด การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น ถนน ป้ายจราจรที่มีภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศที่จำเป็น เป็นต้น

3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหาร

ประเทศใดประเทศหนึ่งไม่สามารถแก้ไขได้โดยลำพัง การบริหารภาครัฐต้องเร่งรัดพัฒนาให้ตอบสนองการให้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้บริการในด้านการอนุญาต อนุมัติ ต่างๆ ซึ่งต้องมีคู่มือภาษาอังกฤษ จีน เป็นต้น เพื่อสื่อสารกับชาวต่างชาติที่ต้องการทำนิติกรรมต่างๆซึ่งเกี่ยวกับรัฐ เช่น การเสียภาษีบำรุงท้องที่ การเสียภาษีป้าย เป็นต้น อีกทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐจำต้องพัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษให้อยู่ในระดับที่สื่อสารกับผู้ใช้บริการที่เป็นชาวต่างชาติ

4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคมและสาธารณสุข

ปัญหาสังคมจะรุนแรงถ้าไม่ได้รับการวางแผนที่ดี เนื่องจากจะมีขยะจำนวนมากมากขึ้น ปัญหาการแบ่งชนชั้น ถ้าคนไทยทำงานกับคนต่างชาติที่ด้อยกว่า อาจมีการแบ่งชนชั้นกันได้ จะมีชุมชนสลัมเกิดขึ้น และอาจมี พม่าทาวน์ ลาวทาวน์ กัมพูชาทาวน์ ปัญหาอาชญากรรมจะรุนแรง สถิติการก่ออาชญากรรมจะเพิ่มขึ้นอย่างมากจากชนนั้นที่มีปัญหา คนจะทำผิดกฎหมายมากขึ้นเนื่องจากไม่รู้กฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลยางค้อมต้องให้ความสำคัญกับการจัดระเบียบชุมชนสังคมและความสงบเรียบร้อยมากขึ้น เนื่องจากกฎหมายและวัฒนธรรมของแต่ละชนชาติอาจมีความแตกต่างกัน ดังนั้น อาจมีการฝ่าฝืนกฎหมายจากชาวต่างประเทศในไทยมากขึ้นทั้งโดยตั้งใจและความไม่รู้กฎหมาย อีกทั้ง อาจเกิดปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด เพิ่มมากขึ้นจากการหลั่งไหลของแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในไทยมากขึ้นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญคงหนีไม่พ้น โรคติดต่อที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น โรคเอดส์ ไข้เลือดออก SARs ไข้หวัดนกและโรคอื่นๆที่มีผลมาจากการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้ามาในไทย การค้ามนุษย์และการท่องเที่ยว มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อน การแพร่ระบาดของโรคศัตรูพืชและโรคระบาดสัตว์

5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมในท้องถิ่น

ภาษาอังกฤษยังเป็นภาษาที่คนไทยมีความเชี่ยวชาญในการสื่อสารน้อยกว่าประเทศอื่นๆในอาเซียน ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลยางค้อม เล็งเห็นว่าน่าจะมีการสนับสนุน ส่งเสริมการนำครูชาวต่างชาติจากมูลนิธิกระจกเงาเข้ามาสอนภาษาอังกฤษโดยการให้อยู่กินกับชาวบ้าน โรงเรียนในพื้นที่ เพื่อนำร่องไปสู่โครงการอื่นๆในการเร่งรัดพัฒนาให้ประชาชนในพื้นที่มีทักษะในการสนทนาภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น

ศาสนาอาจเกิดความขัดแย้งในการเผยแพร่ศาสนาของชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในไทยมากขึ้น เช่น อาจมีการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม อาจมีการกระทบกระทั่งกันระหว่างผู้นับถือศาสนาที่แตกต่างกัน เช่น ชาวคริสเตียนมาท่องเที่ยวในวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและมีการลบหลู่อย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เป็นต้น

วัฒนธรรมประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN SOCIO-CULTURAL COMMUNITY) มีแผนปฏิบัติการด้านสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนระบุในแผนปฏิบัติการเวียงจันทร์ที่สำคัญ คือ การพัฒนามนุษย์และการสร้างอัตลักษณ์อาเซียน ต้องสร้างความตระหนักรู้ถึงความแตกต่างในมรดกทางวัฒนธรรม เช่น มุสลิมมีอาหารที่เป็นข้อห้าม ตามธรรมเนียมบรูไนไม่มีการจับมือกับเพศตรงข้าม การใช้มือซ้ายในการส่งของหรือนามบัตรให้แก่ชาวมุสลิมถือเป็นสิ่งไม่สุภาพ เป็นต้น

6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม

การบุกรุกพื้นที่ป่าอาจมีมากขึ้น ด้วยสาเหตุทั้งที่เกิดจากคนไทยและชาวต่างชาติ สาเหตุที่เกิดจากคนไทยคือการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรทำให้ที่ทำกินไม่เพียงพอต่อความต้องการ หรือการขายที่ดินให้นายทุนต่างๆชาติแล้วไม่มีที่ทำกินจึงต้องไปเปิดป่าใหม่ ส่วนสาเหตุจากชาวต่างชาติ อาจมีนายทุนเข้ามาทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การตัดไม้เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การเข้าสัมปทานทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญอื่นๆ มลพิษจากข้อเสียข้ามแดน เช่น อาจมีขยะข้ามแดน