Background



ข้อมูลทั่วไป
ประชากรในเขตเทศบาลตำบลเวียงสระ
19 ตุลาคม 2561

0


ประชากรในเขตเทศบาลตำบลเวียงสระ

เอกสารแนบ
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญของท้องถิ่น
19 ตุลาคม 2561

0


สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญของท้องถิ่น
 

เอกสารแนบ
ข้อมูลทั่วไป
5 ตุลาคม 2561

0


สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญของท้องถิ่น

 

1. ประวัติเทศบาล

                เทศบาลตำบลเวียงสระเดิมเป็นท้องถิ่นหนึ่งของตำบลบ้านส้องและตำบลเวียงสระ  กิ่งอำเภอเวียงสระอำเภอบ้านนาสารจังหวัดสุราษฎร์ธานีและได้รับการยกฐานะเป็นสุขาภิบาล  เวียงสระตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 85 ตอนที่ 57 เมื่อ วันที่ 25 มิถุนายน 2511 และต่อมาได้รับการยกฐานะจากสุขาภิบาลเวียงสระเป็นเทศบาลตำบลเวียงสระตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 9 ก เมื่อ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 และมีผลหลังจากประกาศครบ 90 วัน คือ วันที่ 25 พฤษภาคม 2542
               
               1.1 ลักษณะที่ตั้ง. 
                      เทศบาลตำบลเวียงสระ ตั้งอยู่ในชุมชนตลาดบ้านส้อง อำเภอเวียงสระ มีพื้นที่ประมาณ 4.25 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ2,500ไร่มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มลำคลองตาลมีความสูงจากระดับน้ำ ทะเล 38 เมตร ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 2,4,10 ตำบลบ้านส้อง และหมู่ที่ 1,8 ตำบลเวียงสระ
 ลักษณะที่ตั้ง
                      เทศบาลตำบลเวียงสระ ตั้งอยู่ในชุมชนตลาดบ้านส้อง อำเภอเวียงสระ ห่างจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยทางรถยนต์ประมาณ 65 กิโลเมตร ทางรถไฟ 85 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 714 กิโลเมตร มีเส้นทางการคมนาคมทั้งทางรถยนต์ รถไฟ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4.2 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,500 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านส้องหมู่ที่ 2, 4, และหมู่ที่ 10  และครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงสระ หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 8 โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
                      ทิศเหนือ           ติดต่อกับ     อบต. เวียงสระ  อำเภอเวียงสระ
                      ทิศใต้               ติดต่อกับ     เทศบาลตำบลเขานิพันธ์ อำเภอเวียงสระ
                      ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ     เทศบาลตำบลบ้านส้อง อำเภอเวียงสระ
                      ทิศตะวันตก       ติดต่อกับ     เทศบาลตำบลทุ่งหลวง อำเภอเวียงสระ

               1.2 ลักษณะภูมิประเทศภูมิอากาศ

                      เทศบาลตำบลเวียงสระมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม และที่ราบสูง ริมคลองตาลเป็น
คลองที่มีต้นกำเนิดจากเขากระเบียด และเขาพรุกำ ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของชุมชน มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 38 เมตร
                      ลักษณะภูมิอากาศ มี  2  ฤดู  คือ   
                          -  ฤดูร้อน อยู่ในช่วงเดือน มกราคม ถึง เมษายน
                          -  ฤดูฝน   อยู่ในช่วงเดือน พฤษภาคม ถึง ธันวาคม 

2. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

               2.1 การคมนาคมขนส่ง  สภาพการคมนาคมขนส่ง  ส่วนใหญ่ค่อนข้างสะดวก  โดยมีถนนที่ใช้ในการสัญจรไปมาดังนี้
                      - ทางหลวงแผ่นดินสาย  41     เป็นถนนลาดยาง 6   ช่องจราจร
                      - ทางหลวงแผ่นดินสาย  4009  เป็นถนนลาดยาง 4 ช่องจราจร
                      - ทางหลวงแผ่นดินสาย  4015  เป็นถนนลาดยาง 2 ช่องจราจร
                      - ถนนลาดยางและถนนคอนกรีตเสริมเหล็กในเขตเทศบาล
                      - ถนนลูกรัง,ถนนหินคลุกในเขตเทศบาล
                      
                      ถนนสาธารณะที่อยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาล ความยาว 20.038 กิโลเมตร
                      คิดเป็นพื้นที่รวม 0.7897 ตารางกิโลเมตร
                      - ถนนลูกรัง ความยาว 1.65 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่รวม 0.0085 ตร.กม.
                      - ถนนลูกรังโรยหิน ความยาว 2.86  กิโลเมตร  คิดเป็นพื้นที่รวม 0.132  ตร.กม.
                      - ถนนลาดยาง ความยาว 8.297 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่รวม 0.317 ตร.กม.
                      - ถนนคอนกรีต ความยาว 6.679 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่รวม 0.3322  ตร.กม. 
                        แบ่งเป็น   ถนนลูกรัง 10  สาย  
                                      สะพานข้ามคลอง  4  แห่ง
                                      ถนนลาดยาง 22 สาย  สะพานลอยคนข้าม  1  แห่ง
                                      ถนนคอนกรีต 35 สาย

 เทศบาลตำบลเวียงสระมีรถประจำทางวิ่งหลายสาย ซึ่งจุดจอดรถอยู่บริเวณหลังสถานีขนส่ง ได้แก่
                            1. สายบ้านส้อง - นครศรีธรรมราช                            
                            2. สายบ้านส้อง - กระบี่
                            3. สายบ้านส้อง - พิปูน                                              
                            4. สายบ้านส้อง – ชัยบุรี
                            5. สายบ้านส้อง – นาสาร                                         
                            6. สายบ้านส้อง – บางสวรรค์
                            7. สายบ้านส้อง – พุนพิน             
                    นอกจากนั้นยังมีรถโดยสารที่วิ่งผ่านทางเทศบาลตำบลเวียงสระ ได้แก่
                            8. สายกระบี่ – สุราษฎร์ธานี
                            9. สายทุ่งสง – สุราษฎร์ธานี
                          10. สายสุราษฎร์ธานี – 
                          11. สายสุราษฎร์ธานี – ตรัง
                          12. สายกระบี่ – กรุงเทพฯ
                          13. สายตรัง – กรุงเทพฯ
                          14. สายพัทลุง – กรุงเทพฯ
                          15. สายสตูล – กรุงเทพฯ
                    นอกจากนี้ ยังมีสถานีรถไฟบ้านส้อง  ซึ่งมีขบวนรถไฟรับส่งผู้โดยสาร ดังนี้
                            1. ขบวนที่ 446 รถธรรมดา หาดใหญ่ – ชุมพร เวลาถึง 12.24 น.
                            2. ขบวนที่ 174 รถเร็ว  นครศรีธรรมราช – กรุงเทพฯ เวลาถึง 14.55 น.
                            3. ขบวนที่ 86 รถด่วน  นครศรีธรรมราช – กรุงเทพฯ เวลาถึง 16.24 น.
                            4. ขบวนที่ 168 รถเร็ว  กันตัง – กรุงเทพฯ เวลาถึง 17.01 น.
                            5. ขบวนที่ 448 รถธรรมดา สุไหงโกลก – สุราษฎร์ธานี เวลาถึง 17.15 น.
                            6. ขบวนที่ 172 รถเร็ว  สุไหงโกลก – กรุงเทพฯ เวลาถึง 18.46 น. 
                            7. ขบวนที่ 42 รถดีเซลราง  ยะลา – กรุงเทพฯ เวลาถึง 19.34 น. 
                     ตลอดจนภายในชุมชนมีรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างไว้บริการทั่วไปในชุมชน รวม 7 คิว
                  
                     2.2 การไฟฟ้า  ราษฎรในเขตเทศบาลมีไฟฟ้าใช้แล้วประมาณ 100 % ( ประมาณ 4,527 ครัวเรือน) และมีการขยายเขตจำหน่ายไฟฟ้าสาธารณะไปยังชุมชนต่างๆ ในเขตถนนและซอยต่างๆ แล้ว ประมาณ 80 % (ประมาณ 588 หลอด ในเขตเทศบาล) ซึ่งปัญหาที่สำคัญคือ กรณีที่เกิดฝนตกแล้วไฟฟ้าดับ หรือไฟฟ้าดับในกรณีอื่นๆ การให้บริการแก้ไขของการไฟฟ้ายังล่าช้าอยู่ 
                     
                     2.3 การประปา  การประปาในเขตเทศบาลอยู่ในความรับผิดชอบของการประปาส่วนภูมิภาคบ้านนาสาร โดยใช้แหล่งน้ำดิบจากแม่น้ำตาปี ซึ่งการให้บริการแก่ประชาชนยังไม่ทั่วถึง และไม่เพียงพอ ราษฎรในเขตเทศบาลได้ใช้น้ำประปาแล้วประมาณ 95 % (ประมาณ 3,800 ครัวเรือน) ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่คือ น้ำประปาไม่ค่อยไหล เมื่อประชาชนใช้น้ำประปาพร้อมๆกัน ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในตอนเช้าและตอนเย็น
                     
                     2.4 ด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม  ในเขตเทศบาลมีการให้บริการโทรคมนาคม คือ 
                             - สำนักงานไปรษณีย์โทรเลข จำนวน 1 แห่ง
                             - สำนักงานบริการโทรศัพท์  จำนวน 1 แห่ง
                            ราษฎรได้รับบริการเลขโทรศัพท์แล้ว ประมาณ 80 % ตลอดจนมีการติดตั้งเครื่องมือสื่อสารด้วยระบบมือถือ ความถี่ 800 , 900 , 1800 DIGITAL , GSM 2 WATT , WORLD PHONE BY 1800 และสามารถติดต่อได้ทุกพื้นที่ในเขตเทศบาล แต่ระบบสายโทรศัพท์ยังยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ 
                    
                     2.5 ด้านการจราจร   สภาพการจราจรในถนนสายหลัก อยู่ในสภาพที่ดีพอสมควร แต่ใน
บริเวณชุมชนหลัก คือ ตลาดบ้านส้องมีขนาดทางที่แคบ และมีปัญหาการจราจรติดขัด ไม่มีสถานที่จอดรถ สัญญาณไฟจราจรยังไม่เพียงพอ รวมไปถึงป้ายบอกทางในเขตเทศบาลมีน้อย วินัยการจราจรของผู้ขับขี่ยานพาหนะยังต้องแก้ไข 
                    
                     2.6 การใช้ที่ดิน  การใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตเทศบาลตำบลเวียงสระ ยังขาดระบบ และขาดการวางแผน คือ มีการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ของเทศบาล มีการก่อสร้างอาคารและการปลูกสร้างรุกล้ำที่สาธารณะ ไม่มีการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างชัดเจน ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น ปัญหาด้านการจราจร  สภาพแหล่งเสื่อมโทรม

3. ด้านเศรษฐกิจ
             
                  3.1 การเกษตรกรรม ในเขตเทศบาลตำบลเวียงสระมีพื้นที่การประกอบอาชีพเกษตรกรรม 
ประมาณ 400 ไร่ ราษฎรประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประมาณ 20 % ของประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาล พืชผลทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ เงาะโรงเรียน ทุเรียน มังคุด ฯลฯ
                  
                  3.2 การอุตสาหกรรม ในเขตเทศบาลตำบลเวียงสระ เป็นอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการค้า เช่น
                               อุตสาหกรรมโรงพิมพ์ 5 แห่ง
                               อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ 2 แห่ง
                               ปั๊มน้ำมัน  6  แห่ง
                              โรงน้ำแข็ง 1 แห่ง 
      
                 3.3 การพาณิชย์ ตลาดบ้านส้องเทศบาลตำบลเวียงสระเป็นศูนย์กลางทางการค้า และเป็นศูนย์กลางด้านการพาณิชยกรรมที่สำคัญทางตอนล่างของจังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่ละวันจะมีพ่อค้า และแม่ค้า และราษฎรจากอำเภอใกล้เคียง  มาจับจ่ายซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก  สินค้าที่สำคัญ  เช่นทองรูปพรรณ วัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้าง วัสดุอุปกรณ์ในการเกษตร สินค้าเกี่ยวกับพืชผักอาหาร เป็นตลาดกลางยางพาราที่สำคัญของภูมิภาคนี้ มีร้านทอง 15 แห่ง สถานธนานุบาล 1 แห่ง และธนาคารพาณิชย์ 9 แห่ง ได้แก่ 
                     1. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
                     2. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
                     3. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
                     4. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
                     5. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
                     6. ธนาคารออมสิน
                     7. ธนาคารกรุงไทย  จำกัด (มหาชน)
                     8. ธนาคารอาคารสงเคราะห์
                     9. ธนาคารทหารไทย   จำกัด  (มหาชน)

                 3.4 การบริการ 
                         1. โรงแรม                                                    จำนวน    2     แห่ง (ม่านรูด 2 แห่ง)
                         2. ร้านจำหน่ายอาหารตาม พรบ. สาธารณสุข  จำนวน   120  ร้าน
                         3. สถานบันเทิง                                        จำนวน   35   ร้าน

                 3.5 การท่องเที่ยว ในเขตเทศบาลตำบลเวียงสระไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ แต่มีสถานที่ท่องเที่ยวบางส่วนที่พอจะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวภายในชุมชนได้  เช่น พื้นที่บริเวณริมคลองตาล ซึ่งเทศบาลได้มีนโยบายในการพัฒนาบริเวณคลองตาลให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว  พื้นที่บริเวณสนามเด็กเล่น สวนสุขภาพ และบริเวณสนามประชาธิปัตย์

4. ด้านสังคม
               
               4.1 ประชากร  ในเขตเทศบาลตำบลเวียงสระ มีประชากรในปี  2553  ดังนี้
                      
                        คำอธิบาย:    ประชากรในเขตเทศบาลตำบลเวียงสระ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2553คลิก!!
              
               4.2 การศึกษา ศาสนา และประเพณีวัฒนธรรม
                        การศึกษาในเขตเทศบาล มีโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน  3  แห่ง คือ
                               1. โรงเรียนบ้านส้อง ระดับประถม – มัธยมศึกษาตอนต้น
                               2. โรงเรียนวัดคลองตาล ระดับประถมศึกษา
                               3. โรงเรียนอนุบาลบ้านเด็ก ระดับอนุบาล – ประถมศึกษา
                        การศึกษาในระดับอนุบาลมีสถานการศึกษา 2 แห่ง คือ 
                              1. โรงเรียนอนุบาลบัณฑิต
                              2. โรงเรียนอนุบาลภิญพัฒน์
                        การศาสนาในเขตเทศบาล มีวัดจำนวน 1 วัด คือวัดคลองตาล และมีโบสถ์คริสต์ จำนวน 2 แห่ง คือบริเวณสามแยกกสิกร และชุมชนหน้าสถานี ราษฎรส่วนใหญ่ 97 % นับถือศาสนาพุทธ 
                        ศิลปวัฒนธรรม งานประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ เช่น การทำบุญตักบาตรวันขึ้นปีใหม่ การจัดงานประเพณีวันสงกรานต์ การจัดงานประเพณีลอยกระทง วันสำคัญทางศาสนา และมีปูชนียบุคคล คือ ศิลปินแห่งชาติ นายจูเลี่ยม  กิ่งทอง สาขาศิลปะการแสดง 

                4.3 การสาธารณสุข การให้บริการสาธารณสุขในเขตเทศบาลมีสถานให้บริการดังนี้
                             1. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเวียงสระ  เป็นโรงพยาบาลขนาด  60  เตียง
                             2. สถานพยาบาลเอกชน ขนาด 20 เตียง จำนวน 2 แห่ง
                             3. สถานีอนามัย  จำนวน 1  แห่ง
                             4. คลีนิคเอกชน  จำนวน 10 แห่ง

   4.4  การสังคมสงเคราะห์  เทศบาลตำบลเวียงสระ ราษฎรส่วนใหญ่มีฐานะปานกลางถึงค่อนข้างรวย ในเรื่องของการสังคมสงเคราะห์ ได้ดำเนินการประสานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น ช่วยเหลือผู้ยากจน ให้มีบัตรสังคมสงเคราะห์  การให้เบี้ยยังชีพแก่คนพิการและผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในบริเวณชุมชนเมโทร และบริเวณชุมชนข้างทางรถไฟ  หลังสถานีรถไฟบ้านส้อง มีราษฎรที่ยากจน อาศัยอยู่รวมกันในสภาพชุมชนที่แออัด เป็นแหล่งเสื่อมโทรมและแหล่งอบายมุขต่างๆ เช่นปัญหาเกี่ยวกับโรคเอดส์ ปัญหายาเสพติด ปัญหาไข้เลือดออก เป็นต้น
                     
                     4.5  ตลาดสด เทศบาลตำบลเวียงสระมีตลาดสด จำนวน 1 แห่ง มีตลาดสดเอกชน จำนวน 2 แห่ง โดยเป็นแหล่งซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าทางการเกษตร สินค้าอุปโภคและบริโภค สินค้าประเภทอาหารสดและอาหารแห้ง ผักผลไม้ต่างๆ ฯลฯ
        
                     4.6  การจัดเก็บขยะ เทศบาลตำบลเวียงสระมีสถานที่กำจัดขยะ อยู่ในหมู่ที่ 6   ตำบลบ้านส้องซึ่งอยู่นอกเขตเทศบาล มีที่ดินสำหรับกำจัดขยะ ประมาณ 15 ไร่ ห่างจากเทศบาลประมาณ 5 กิโลเมตร โดยที่ดินที่ใช้ในการกำจัดขยะ คาดว่าสามารถรองรับการกำจัดขยะได้อีก 10 ปี มีวิธีการกำจัดขยะโดยวิธีฝังกลบและเผาบนพื้น อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเก็บขยะของเทศบาล มีรถบรรทุกขยะ จำนวน 3 คัน ถังขยะรองรับขยะ จำนวน 450 ถัง
                            -  รถขยะจำนวน 3 คัน เป็นปริมาตรทั้งสิ้น 18 ตัน
                            -  รถขนสิ่งปฏิกูล จำนวน 1 คัน คิดเป็นปริมาตรทั้งสิ้น 5 ลบ.เมตร
                            -  ปริมาณขยะและสิ่งปฏิกูลที่จัดเก็บประมาณ 1,440  ตัน / ปี
                            -  ปริมาณขยะและสิ่งปฏิกูลที่เกิดขึ้น ประมาณ 2,160  ตัน / ปี
                   
                    4.7 ชุมชนการเคหะ  ในเขตเทศบาลตำบลเวียงสระ ส่วนใหญ่จะตั้งบ้านเรือนเป็นลักษณะของที่อยู่อาศัยรวม เพื่ออยู่อาศัย และประกอบการค้า มีบ้านจัดสรร และอาคารอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น ทำให้เทศบาลต้องรีบดำเนินการทั้งด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และเพิ่มความต้องการพัฒนาให้มากในเรื่องนี้ และเน้นหนักเกี่ยวกับความสะอาดอย่างจริงจัง
 

5. ด้านการเมืองและการบริหาร
            
                    5.1  การบริหารของเทศบาลตำบลเวียงสระ  ประกอบด้วยการบริหาร 2 ส่วน คือ 
                            1. สภาท้องถิ่นเทศบาลตำบลเวียงสระ มีสมาชิก จำนวน 17 คน  ประกอบด้วยฝ่ายบริหาร 5 คน และฝ่ายนิติบัญญัติ 12 คน
                            2. พนักงานเทศบาล ประกอบด้วย พนักงานเทศบาลสามัญ จำนวน 28  คน  ลูกจ้างประจำ  20  คน  และพนักงานจ้าง จำนวน  39  คน

 

 

ข้อมูลพื้นฐานของตำบลยางค้อม
6 กันยายน 2561

0


 

สภาพทั่วไป

 

ที่ตั้ง     องค์การบริหารส่วนตำบลยางค้อม ตั้งอยู่ที่ 197 หมู่ที่ 5 ตำบลยางค้อม อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอพิปูนประมาณ 7 กิโลเมตร

เนื้อที่   มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 37,500 ไร่

ภูมิประเทศ      สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่  เป็นที่ราบเชิงเขา  และที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีแม่น้ำสายหลักไหลผ่านคือ แม่น้ำตาปี  และมีคลอง 2 สาย คือ คลองหลีก และคลองห้วยจาน ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร และมีอาณาเขตดังนี้

      ทิศเหนือ          ติดต่อตำบลพิปูน                  อำเภอพิปูน       จังหวัดนครศรีธรรมราช

      ทิศตะวันออก    ติดต่อตำบลละอาย       อำเภอฉวาง      จังหวัดนครศรีธรรมราช

      ทิศใต้             ติดต่อตำบลไสหร้า        อำเภอฉวาง     จังหวัดนครศรีธรรมราช

      ทิศตะวันตก      ติดต่อตำบลควนกลาง    อำเภอพิปูน     จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

จำนวนหมู่บ้าน 9 หมู่บ้าน

       จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลยางค้อม มีดังต่อไปนี้

 

        หมู่ที่                                                                                     ชื่อหมู่บ้าน

  1.                                                                                          บ้านนาเหนือ
  2.                                                                                          บ้านท่าแซะ
  3.                                                                                          บ้านในใส
  4.                                                                                          บ้านทุ่งนาใหม่
  5.                                                                                          บ้านยางค้อม
  6.                                                                                          บ้านโคกแหมะ
  7.                                                                                          บ้านดอกประดู่
  8.                                                                                          บ้านพรุทัง
  9.                                                                                          บ้านทางหลวง

ประชากร

ประชากรทั้งสิ้น 5,892 คน แยกเป็นชาย 2,905 คน หญิง 2,987 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 96 คน/ตารางกิโลเมตร มีประชากรทั้งสิ้นจำนวน 2,101 ครัวเรือน โดยแยกจำนวนประชากร ดังนี้

 

หมู่บ้าน                     ชาย (คน)        หญิง(คน)                  รวม(คน)   จำนวนครัวเรือน(หลัง)           

หมู่ที่ 1                      480               456                          936               308

หมู่ที่ 2                      95                 89                           184               73

หมู่ที่ 3                      239               237                          476               145

หมู่ที่ 4                      307               309                          616               219

หมู่ที่ 5                      330               373                          703               307

หมู่ที่ 6                      306               293                          599               251

หมู่ที่ 7                      281               319                          600               254

หมู่ที่ 8                      407               404                          811               276

หมู่ที่ 9                      507               497                          1,004             342

 

ลักษณะภูมิอากาศ

จากสถานที่ตั้งของตำบลยางค้อม  ทำให้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือสลับกันดังนี้

- ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ลมนี้มีทิศทางพัดฝ่านมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามัน เนื่องจากทางทิศตะวันตกของลุ่มน้ำคลองตาปีเป็นเทือกเขาสูง ทำให้ฝนตกไม่มากนัก อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะอยู่ในช่วงประมาณเดือน พฤษภาคม ถึงเดือน ตุลาคม

- ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ลมนี้พัดผ่านอ่าวไทย ทำให้เกิดฝนตกชุกในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำ คลองตาปีเนื่องจากอยู่ในด้านรับลมของเทือกเขา อิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะทำให้ฝนตกมากในช่วงประมาณเดือน พฤศจิกายน ถึงเดือน มกราคมสำหรับฤดูกาลในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำคลองตาปี มี 2 ฤดู

 1. ฤดูร้อน อยู่ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ ถึงเดือน เมษายน มีอากาศร้อนตลอดฤดูกาล

 2. ฤดูฝน แบ่งได้ 2 ช่วง

               2.1 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือน ตุลาคม เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ช่วงนี้ฝนตกไม่มากนัก

 2.2 ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน ถึงเดือน มกราคม เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงนี้มีฝนตกชุก

 

ลักษณะของดิน         

-  พื้นที่ป่าเขา ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย เหมาะสำหรับปลูกยางพารา ไม้ผลและพืชไร่

-  พื้นที่ราบ ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย ดินล่างเป็นดินร่วนปนดินเหนียว การระบายน้ำ และความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ เหมาะแก่การทำนา

 

ลักษณะของแหล่งน้ำ  มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เช่น

-  คลองตาปี เกิดจากเทือกเขาหลวง ไหลผ่านหมู่ที่ 6 ขนาดกว้าง 30 เมตร ลึกเฉลี่ย 2.5 เมตร ยาวประมาณ 15 กิโลเมตร

- คลองห้วยจาน ไหลผ่านหมู่ที่ 2,3,5,7 ขนาดคลองกว้าง 4 เมตร ลึกเฉลี่ย 3 เมตร ยาวประมาณ 10 กิโลเมตร

แหล่งน้ำธรรมชาติ

-  ลำน้ำ   ลำห้วย                                                  13       แห่ง

-  แม่น้ำ                                                              1         แห่ง

-  ลำคลอง                                                           2         แห่ง

-  บึง, หนองน้ำ, และอื่น ๆ                                       6         แห่ง

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

-  ฝาย                                                               3         แห่ง

- ฝายมีชีวิต                                                         1         แห่ง

-  บ่อน้ำตื้น                                                          150     แห่ง

-  ประปาหมู่บ้าน                                                             9          แห่ง

-  สระน้ำ                                                            1         แห่ง

 

ลักษณะของไม้และป่าไม้

การใช้ทรัพยากรป่าไม้ และการพึ่งพาป่าไม้

พื้นที่ส่วนใหญ่ในเขตตำบลยางค้อมยังไม่ถือว่าเป็นปัญหาหนักเนื่องจากสภาพแวดล้อมด้านธรรมชาติป่าไม้โดยทั่วไปส่วนใหญ่ยังเป็นสภาพธรรมชาติ ซึ่งส่วนใหญ่ราษฎรใช้ทำมาหากินเพื่อครัวเรือน เช่น ทำสวนผลไม้ (สวนผสม) สวนยางพารา และพืชไร่ซึ่งได้รับการผ่อนผันให้ทำประโยชน์ตามมติ ครม. 30 มิถุนายน 2541 และมีการเก็บหาของป่าบ้าง เช่น น้ำผึ้ง สมุนไพร ซึ่งเก็บได้ในบางฤดูกาล

กิจกรรมอนุรักษ์และจัดการป่า

ป่าที่อยู่ใกล้/ในบริเวณชุมชน เป็นป่าประเภทป่าดงดิบชื้น โดยสถานภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้ และป่าอนุรักษ์ของอุทยานแห่งชาติ ในความรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในชุมชนมีกิจกรรมการอนุรักษ์ป่าโดยกลุ่มชมรมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำคลองตาปีและโครงการส่งเสริมและพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ (สสอ.) โดยมีรูปแบบกิจกรรม การเพาะชำกล้าไม้ การสร้างฝายชะลอน้ำ การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ให้ความรู้ชาวบ้านได้รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและประหยัดและให้ชาวบ้านใช้สารอินทรีย์และชีวภาพในการทำการเกษตร

 

สภาพทางสังคม

 

การศึกษาตำบลยางค้อม  มีแหล่งการศึกษาในพื้นที่  ดังนี้

- โรงเรียนประถมศึกษา                                 จำนวน 3   แห่ง

- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์                       จำนวน 2   แห่ง

- ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล จำนวน ๑   แห่ง

สาธารณสุข

ตำบลยางค้อม มีโรงพยาบาลประจำตำบล  จำนวน 1 แห่ง ได้แก่

- โรงพยาบาลพิปูน  ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 5  ตำบลยางค้อม                 

มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  จำนวน 1 แห่ง ได้แก่

- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพวัดทุ่งนาใหม่ ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 4 ตำบลยางค้อม และมีหมู่บ้านให้บริการและรับผิดชอบ คือ หมู่ที่ 2, 4 และ 8

ตำบลยางค้อม มีกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล 1 แห่ง คือ กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล    ยางค้อม

สถาบันและองค์กรทางศาสนา

ตำบลยางค้อม  มีสถาบันและองค์กรศาสนา  ดังนี้

วัด  จำนวน  2  แห่ง

  • วัดทุ่งนาใหม่
  • วัดยางค้อม

สำนักสงฆ์  จำนวน  1  แห่ง

การเกษตร

ราษฎรในเขตพื้นที่ตำบลยางค้อม จะประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ คือ ปลูกยางพาราเป็นอันดับหนึ่งของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งตำบล พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณที่ราบเชิงเขา การทำยางแผ่น ยังขาดการปรับปรุงคุณภาพให้ดีเท่าที่ควร

การทำสวนไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ผลไม้ยืนต้นที่ปลูกมี ทุเรียน มังคุด เงาะ ลางสาด ลองกอง มะพร้าว สะตอ คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๖๔ ของพื้นที่ทำการเกษตร ลักษณะการปลูกไม้ผลส่วนใหญ่จะเป็นการปลูกรวมในพื้นที่เดียวกัน แต่ปลูกผลไม้หลายๆ ชนิด

การปลูกพืชไร่, พืชผัก พืชไร่พืชผักที่ปลูกมี ถั่วลิสง ข้าวโพดหวาน มันเทศ แตงกวา ถั่วฝักยาว และผักกินใบต่างๆ การปลูกพืชไร่ พืชผัก มีการปลูกประมาณร้อยละ ๐.๙๓% ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด

การบริการ

หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลยางค้อม

- รีสอร์ท  1 แห่ง

- ปั๊มน้ำมันและก๊าซ   1 แห่ง

- โรงสี  1 แห่ง

 

การท่องเที่ยว  ตำบลยางค้อม มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ดังนี้

- จุดชมวิวสำนักสงฆ์ทองธรรมธาร หมู่ที่ 8
- ฝายมีชีวิต หมู่ที่ 6

 

การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

1. กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ

2. กลุ่มดอกไม้จากใบยางพารา

3. กลุ่มเครื่องแกง

4. กลุ่มพัฒนาสตรีหมู่บ้าน