
356
ประชากรในเขตเทศบาลตำบลเวียงสระ

356
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญของท้องถิ่น

356
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญของท้องถิ่น
1. ประวัติเทศบาล
เทศบาลตำบลเวียงสระเดิมเป็นท้องถิ่นหนึ่งของตำบลบ้านส้องและตำบลเวียงสระ กิ่งอำเภอเวียงสระอำเภอบ้านนาสารจังหวัดสุราษฎร์ธานีและได้รับการยกฐานะเป็นสุขาภิบาล เวียงสระตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 85 ตอนที่ 57 เมื่อ วันที่ 25 มิถุนายน 2511 และต่อมาได้รับการยกฐานะจากสุขาภิบาลเวียงสระเป็นเทศบาลตำบลเวียงสระตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 9 ก เมื่อ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 และมีผลหลังจากประกาศครบ 90 วัน คือ วันที่ 25 พฤษภาคม 2542
1.1 ลักษณะที่ตั้ง.
เทศบาลตำบลเวียงสระ ตั้งอยู่ในชุมชนตลาดบ้านส้อง อำเภอเวียงสระ มีพื้นที่ประมาณ 4.25 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ2,500ไร่มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มลำคลองตาลมีความสูงจากระดับน้ำ ทะเล 38 เมตร ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 2,4,10 ตำบลบ้านส้อง และหมู่ที่ 1,8 ตำบลเวียงสระ
ลักษณะที่ตั้ง
เทศบาลตำบลเวียงสระ ตั้งอยู่ในชุมชนตลาดบ้านส้อง อำเภอเวียงสระ ห่างจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยทางรถยนต์ประมาณ 65 กิโลเมตร ทางรถไฟ 85 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 714 กิโลเมตร มีเส้นทางการคมนาคมทั้งทางรถยนต์ รถไฟ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4.2 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,500 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านส้องหมู่ที่ 2, 4, และหมู่ที่ 10 และครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงสระ หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 8 โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อบต. เวียงสระ อำเภอเวียงสระ
ทิศใต้ ติดต่อกับ เทศบาลตำบลเขานิพันธ์ อำเภอเวียงสระ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เทศบาลตำบลบ้านส้อง อำเภอเวียงสระ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เทศบาลตำบลทุ่งหลวง อำเภอเวียงสระ
1.2 ลักษณะภูมิประเทศภูมิอากาศ
เทศบาลตำบลเวียงสระมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม และที่ราบสูง ริมคลองตาลเป็น
คลองที่มีต้นกำเนิดจากเขากระเบียด และเขาพรุกำ ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของชุมชน มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 38 เมตร
ลักษณะภูมิอากาศ มี 2 ฤดู คือ
- ฤดูร้อน อยู่ในช่วงเดือน มกราคม ถึง เมษายน
- ฤดูฝน อยู่ในช่วงเดือน พฤษภาคม ถึง ธันวาคม
2. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
2.1 การคมนาคมขนส่ง สภาพการคมนาคมขนส่ง ส่วนใหญ่ค่อนข้างสะดวก โดยมีถนนที่ใช้ในการสัญจรไปมาดังนี้
- ทางหลวงแผ่นดินสาย 41 เป็นถนนลาดยาง 6 ช่องจราจร
- ทางหลวงแผ่นดินสาย 4009 เป็นถนนลาดยาง 4 ช่องจราจร
- ทางหลวงแผ่นดินสาย 4015 เป็นถนนลาดยาง 2 ช่องจราจร
- ถนนลาดยางและถนนคอนกรีตเสริมเหล็กในเขตเทศบาล
- ถนนลูกรัง,ถนนหินคลุกในเขตเทศบาล
ถนนสาธารณะที่อยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาล ความยาว 20.038 กิโลเมตร
คิดเป็นพื้นที่รวม 0.7897 ตารางกิโลเมตร
- ถนนลูกรัง ความยาว 1.65 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่รวม 0.0085 ตร.กม.
- ถนนลูกรังโรยหิน ความยาว 2.86 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่รวม 0.132 ตร.กม.
- ถนนลาดยาง ความยาว 8.297 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่รวม 0.317 ตร.กม.
- ถนนคอนกรีต ความยาว 6.679 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่รวม 0.3322 ตร.กม.
แบ่งเป็น ถนนลูกรัง 10 สาย
สะพานข้ามคลอง 4 แห่ง
ถนนลาดยาง 22 สาย สะพานลอยคนข้าม 1 แห่ง
ถนนคอนกรีต 35 สาย
เทศบาลตำบลเวียงสระมีรถประจำทางวิ่งหลายสาย ซึ่งจุดจอดรถอยู่บริเวณหลังสถานีขนส่ง ได้แก่
1. สายบ้านส้อง - นครศรีธรรมราช
2. สายบ้านส้อง - กระบี่
3. สายบ้านส้อง - พิปูน
4. สายบ้านส้อง – ชัยบุรี
5. สายบ้านส้อง – นาสาร
6. สายบ้านส้อง – บางสวรรค์
7. สายบ้านส้อง – พุนพิน
นอกจากนั้นยังมีรถโดยสารที่วิ่งผ่านทางเทศบาลตำบลเวียงสระ ได้แก่
8. สายกระบี่ – สุราษฎร์ธานี
9. สายทุ่งสง – สุราษฎร์ธานี
10. สายสุราษฎร์ธานี –
11. สายสุราษฎร์ธานี – ตรัง
12. สายกระบี่ – กรุงเทพฯ
13. สายตรัง – กรุงเทพฯ
14. สายพัทลุง – กรุงเทพฯ
15. สายสตูล – กรุงเทพฯ
นอกจากนี้ ยังมีสถานีรถไฟบ้านส้อง ซึ่งมีขบวนรถไฟรับส่งผู้โดยสาร ดังนี้
1. ขบวนที่ 446 รถธรรมดา หาดใหญ่ – ชุมพร เวลาถึง 12.24 น.
2. ขบวนที่ 174 รถเร็ว นครศรีธรรมราช – กรุงเทพฯ เวลาถึง 14.55 น.
3. ขบวนที่ 86 รถด่วน นครศรีธรรมราช – กรุงเทพฯ เวลาถึง 16.24 น.
4. ขบวนที่ 168 รถเร็ว กันตัง – กรุงเทพฯ เวลาถึง 17.01 น.
5. ขบวนที่ 448 รถธรรมดา สุไหงโกลก – สุราษฎร์ธานี เวลาถึง 17.15 น.
6. ขบวนที่ 172 รถเร็ว สุไหงโกลก – กรุงเทพฯ เวลาถึง 18.46 น.
7. ขบวนที่ 42 รถดีเซลราง ยะลา – กรุงเทพฯ เวลาถึง 19.34 น.
ตลอดจนภายในชุมชนมีรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างไว้บริการทั่วไปในชุมชน รวม 7 คิว
2.2 การไฟฟ้า ราษฎรในเขตเทศบาลมีไฟฟ้าใช้แล้วประมาณ 100 % ( ประมาณ 4,527 ครัวเรือน) และมีการขยายเขตจำหน่ายไฟฟ้าสาธารณะไปยังชุมชนต่างๆ ในเขตถนนและซอยต่างๆ แล้ว ประมาณ 80 % (ประมาณ 588 หลอด ในเขตเทศบาล) ซึ่งปัญหาที่สำคัญคือ กรณีที่เกิดฝนตกแล้วไฟฟ้าดับ หรือไฟฟ้าดับในกรณีอื่นๆ การให้บริการแก้ไขของการไฟฟ้ายังล่าช้าอยู่
2.3 การประปา การประปาในเขตเทศบาลอยู่ในความรับผิดชอบของการประปาส่วนภูมิภาคบ้านนาสาร โดยใช้แหล่งน้ำดิบจากแม่น้ำตาปี ซึ่งการให้บริการแก่ประชาชนยังไม่ทั่วถึง และไม่เพียงพอ ราษฎรในเขตเทศบาลได้ใช้น้ำประปาแล้วประมาณ 95 % (ประมาณ 3,800 ครัวเรือน) ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่คือ น้ำประปาไม่ค่อยไหล เมื่อประชาชนใช้น้ำประปาพร้อมๆกัน ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในตอนเช้าและตอนเย็น
2.4 ด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม ในเขตเทศบาลมีการให้บริการโทรคมนาคม คือ
- สำนักงานไปรษณีย์โทรเลข จำนวน 1 แห่ง
- สำนักงานบริการโทรศัพท์ จำนวน 1 แห่ง
ราษฎรได้รับบริการเลขโทรศัพท์แล้ว ประมาณ 80 % ตลอดจนมีการติดตั้งเครื่องมือสื่อสารด้วยระบบมือถือ ความถี่ 800 , 900 , 1800 DIGITAL , GSM 2 WATT , WORLD PHONE BY 1800 และสามารถติดต่อได้ทุกพื้นที่ในเขตเทศบาล แต่ระบบสายโทรศัพท์ยังยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ
2.5 ด้านการจราจร สภาพการจราจรในถนนสายหลัก อยู่ในสภาพที่ดีพอสมควร แต่ใน
บริเวณชุมชนหลัก คือ ตลาดบ้านส้องมีขนาดทางที่แคบ และมีปัญหาการจราจรติดขัด ไม่มีสถานที่จอดรถ สัญญาณไฟจราจรยังไม่เพียงพอ รวมไปถึงป้ายบอกทางในเขตเทศบาลมีน้อย วินัยการจราจรของผู้ขับขี่ยานพาหนะยังต้องแก้ไข
2.6 การใช้ที่ดิน การใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตเทศบาลตำบลเวียงสระ ยังขาดระบบ และขาดการวางแผน คือ มีการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ของเทศบาล มีการก่อสร้างอาคารและการปลูกสร้างรุกล้ำที่สาธารณะ ไม่มีการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างชัดเจน ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น ปัญหาด้านการจราจร สภาพแหล่งเสื่อมโทรม
3. ด้านเศรษฐกิจ
3.1 การเกษตรกรรม ในเขตเทศบาลตำบลเวียงสระมีพื้นที่การประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ประมาณ 400 ไร่ ราษฎรประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประมาณ 20 % ของประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาล พืชผลทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ เงาะโรงเรียน ทุเรียน มังคุด ฯลฯ
3.2 การอุตสาหกรรม ในเขตเทศบาลตำบลเวียงสระ เป็นอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการค้า เช่น
อุตสาหกรรมโรงพิมพ์ 5 แห่ง
อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ 2 แห่ง
ปั๊มน้ำมัน 6 แห่ง
โรงน้ำแข็ง 1 แห่ง
3.3 การพาณิชย์ ตลาดบ้านส้องเทศบาลตำบลเวียงสระเป็นศูนย์กลางทางการค้า และเป็นศูนย์กลางด้านการพาณิชยกรรมที่สำคัญทางตอนล่างของจังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่ละวันจะมีพ่อค้า และแม่ค้า และราษฎรจากอำเภอใกล้เคียง มาจับจ่ายซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก สินค้าที่สำคัญ เช่นทองรูปพรรณ วัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้าง วัสดุอุปกรณ์ในการเกษตร สินค้าเกี่ยวกับพืชผักอาหาร เป็นตลาดกลางยางพาราที่สำคัญของภูมิภาคนี้ มีร้านทอง 15 แห่ง สถานธนานุบาล 1 แห่ง และธนาคารพาณิชย์ 9 แห่ง ได้แก่
1. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
2. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
3. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
4. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
5. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
6. ธนาคารออมสิน
7. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
8. ธนาคารอาคารสงเคราะห์
9. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
3.4 การบริการ
1. โรงแรม จำนวน 2 แห่ง (ม่านรูด 2 แห่ง)
2. ร้านจำหน่ายอาหารตาม พรบ. สาธารณสุข จำนวน 120 ร้าน
3. สถานบันเทิง จำนวน 35 ร้าน
3.5 การท่องเที่ยว ในเขตเทศบาลตำบลเวียงสระไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ แต่มีสถานที่ท่องเที่ยวบางส่วนที่พอจะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวภายในชุมชนได้ เช่น พื้นที่บริเวณริมคลองตาล ซึ่งเทศบาลได้มีนโยบายในการพัฒนาบริเวณคลองตาลให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว พื้นที่บริเวณสนามเด็กเล่น สวนสุขภาพ และบริเวณสนามประชาธิปัตย์
4. ด้านสังคม
4.1 ประชากร ในเขตเทศบาลตำบลเวียงสระ มีประชากรในปี 2553 ดังนี้
ประชากรในเขตเทศบาลตำบลเวียงสระ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2553คลิก!!
4.2 การศึกษา ศาสนา และประเพณีวัฒนธรรม
การศึกษาในเขตเทศบาล มีโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 3 แห่ง คือ
1. โรงเรียนบ้านส้อง ระดับประถม – มัธยมศึกษาตอนต้น
2. โรงเรียนวัดคลองตาล ระดับประถมศึกษา
3. โรงเรียนอนุบาลบ้านเด็ก ระดับอนุบาล – ประถมศึกษา
การศึกษาในระดับอนุบาลมีสถานการศึกษา 2 แห่ง คือ
1. โรงเรียนอนุบาลบัณฑิต
2. โรงเรียนอนุบาลภิญพัฒน์
การศาสนาในเขตเทศบาล มีวัดจำนวน 1 วัด คือวัดคลองตาล และมีโบสถ์คริสต์ จำนวน 2 แห่ง คือบริเวณสามแยกกสิกร และชุมชนหน้าสถานี ราษฎรส่วนใหญ่ 97 % นับถือศาสนาพุทธ
ศิลปวัฒนธรรม งานประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ เช่น การทำบุญตักบาตรวันขึ้นปีใหม่ การจัดงานประเพณีวันสงกรานต์ การจัดงานประเพณีลอยกระทง วันสำคัญทางศาสนา และมีปูชนียบุคคล คือ ศิลปินแห่งชาติ นายจูเลี่ยม กิ่งทอง สาขาศิลปะการแสดง
4.3 การสาธารณสุข การให้บริการสาธารณสุขในเขตเทศบาลมีสถานให้บริการดังนี้
1. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเวียงสระ เป็นโรงพยาบาลขนาด 60 เตียง
2. สถานพยาบาลเอกชน ขนาด 20 เตียง จำนวน 2 แห่ง
3. สถานีอนามัย จำนวน 1 แห่ง
4. คลีนิคเอกชน จำนวน 10 แห่ง
4.4 การสังคมสงเคราะห์ เทศบาลตำบลเวียงสระ ราษฎรส่วนใหญ่มีฐานะปานกลางถึงค่อนข้างรวย ในเรื่องของการสังคมสงเคราะห์ ได้ดำเนินการประสานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น ช่วยเหลือผู้ยากจน ให้มีบัตรสังคมสงเคราะห์ การให้เบี้ยยังชีพแก่คนพิการและผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในบริเวณชุมชนเมโทร และบริเวณชุมชนข้างทางรถไฟ หลังสถานีรถไฟบ้านส้อง มีราษฎรที่ยากจน อาศัยอยู่รวมกันในสภาพชุมชนที่แออัด เป็นแหล่งเสื่อมโทรมและแหล่งอบายมุขต่างๆ เช่นปัญหาเกี่ยวกับโรคเอดส์ ปัญหายาเสพติด ปัญหาไข้เลือดออก เป็นต้น
4.5 ตลาดสด เทศบาลตำบลเวียงสระมีตลาดสด จำนวน 1 แห่ง มีตลาดสดเอกชน จำนวน 2 แห่ง โดยเป็นแหล่งซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าทางการเกษตร สินค้าอุปโภคและบริโภค สินค้าประเภทอาหารสดและอาหารแห้ง ผักผลไม้ต่างๆ ฯลฯ
4.6 การจัดเก็บขยะ เทศบาลตำบลเวียงสระมีสถานที่กำจัดขยะ อยู่ในหมู่ที่ 6 ตำบลบ้านส้องซึ่งอยู่นอกเขตเทศบาล มีที่ดินสำหรับกำจัดขยะ ประมาณ 15 ไร่ ห่างจากเทศบาลประมาณ 5 กิโลเมตร โดยที่ดินที่ใช้ในการกำจัดขยะ คาดว่าสามารถรองรับการกำจัดขยะได้อีก 10 ปี มีวิธีการกำจัดขยะโดยวิธีฝังกลบและเผาบนพื้น อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเก็บขยะของเทศบาล มีรถบรรทุกขยะ จำนวน 3 คัน ถังขยะรองรับขยะ จำนวน 450 ถัง
- รถขยะจำนวน 3 คัน เป็นปริมาตรทั้งสิ้น 18 ตัน
- รถขนสิ่งปฏิกูล จำนวน 1 คัน คิดเป็นปริมาตรทั้งสิ้น 5 ลบ.เมตร
- ปริมาณขยะและสิ่งปฏิกูลที่จัดเก็บประมาณ 1,440 ตัน / ปี
- ปริมาณขยะและสิ่งปฏิกูลที่เกิดขึ้น ประมาณ 2,160 ตัน / ปี
4.7 ชุมชนการเคหะ ในเขตเทศบาลตำบลเวียงสระ ส่วนใหญ่จะตั้งบ้านเรือนเป็นลักษณะของที่อยู่อาศัยรวม เพื่ออยู่อาศัย และประกอบการค้า มีบ้านจัดสรร และอาคารอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น ทำให้เทศบาลต้องรีบดำเนินการทั้งด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และเพิ่มความต้องการพัฒนาให้มากในเรื่องนี้ และเน้นหนักเกี่ยวกับความสะอาดอย่างจริงจัง
5. ด้านการเมืองและการบริหาร
5.1 การบริหารของเทศบาลตำบลเวียงสระ ประกอบด้วยการบริหาร 2 ส่วน คือ
1. สภาท้องถิ่นเทศบาลตำบลเวียงสระ มีสมาชิก จำนวน 17 คน ประกอบด้วยฝ่ายบริหาร 5 คน และฝ่ายนิติบัญญัติ 12 คน
2. พนักงานเทศบาล ประกอบด้วย พนักงานเทศบาลสามัญ จำนวน 28 คน ลูกจ้างประจำ 20 คน และพนักงานจ้าง จำนวน 39 คน